วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วัครีโคมคำหรือวัดพระเจ้าตนหลวง

                                                                                                                                                                     


  วัดศรีโคมคำ หรือวัดพระเจ้าตนหลวง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญได้สร้างมานานพร้อมกับการสร้างพระเจ้าตนหลวง เมื่อประมาณ พ.ศ.2034 โดยอยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ และพระยาเมืองตู้ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา ในสมัยนั้นเจ้าอาวาสองค์แรกที่ปรากฎในตำนาน คือ พระธรรมปาล ท่านผู้นี้ได้ทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่คือ ได้เขียนตำนานพระเจ้าตนหลวงออกเผยแพร่แก่ประชาชนอยู่ต่อมาอีกประมาณ 404 ปี จุลศักราช 1219 (พ.ศ. 2400) พระกัปปินะ เป็นเจ้าอาวาสอีกครั้งหนึ่ง มีบันทึกหนังสือสมุดข่อยไว้ว่า แสนทักษิณะเยนดวงชะตาพระเจ้าตนหลวง มีพระธรรมปาลเขียนไว้มาให้ท่านได้รับทราบว่าวัดศรีโคมคำเป็นวัดมาแต่โบราณกาล แต่มาในยุคหลังๆ บ้านเมืองตกอยู่ในภาวะสงคราม ทำให้บ้านเมืองอยู่ไม่เป็นปกติสุขต้องอพยพโยกย้ายไปอยู่ตามหัวเมืองที่ปลอดภัยจากข้าศึก ทำให้บ้านเมือง วัดวาอารามรกร้างว่างเปล่าไป ต่อมาภายหลังได้สถาปนาเมืองพะเยาขึ้น บ้านเมืองก็ดี วัดวาอารามก็ดี ก็ได้รบการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ตามลำดับ 

 วัดศรีโคมคำได้เริ่มก่อสร้างพระวิหารครั้งหลังสุดเมื่อ        พ.ศ. 2465 พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทางฝ่ายบ้านเมืองคือ พระยาประเทศอุดรทิศ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา และหลวงสิทธิประศาสน์ (คลาย บุษบรรณ) นายอำเภอเมืองพะเยา คนแรกร่วมกันไปอาราธนาท่านครูบาศรีวิชัย จากจังหวัดลำพูนมาเป็นประธาน นั่งหนักในการก่อสร้างพระวิหารหลวงและเสนาสนะต่างๆ จำสำเร็จบริบูรณ์ โดยพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ เป็นองค์แรก ปัจจุบันพระธรรมวิมลโมลี (ปวง ธมฺมปญฺโญ) ได้ดำรงตกแหน่งเจ้าอาวาส ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2511 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2523


  ประวัติพระเจ้าตนหลวง
       พระเจ้าตนหลวง เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง 7.50 เมตร สูงตั้งแต่ฐานจนถึงพระโมลี 9.50 เมตร

ประวัติความเป็นมากล่าวว่า เมื่อ พ.ศ.1909 ปีมะเมีย มีพระเถระจากเมืองเชียงแสนเป็นผู้สร้างขึ้น จนบ้านเมืองเกิดศึกสงคราม บ้านแตกสาแหรกขาด วัดก็ได้รกร้างกลายเป็นป่า ขาดผู้ปฏิบัติรักษาจนถูกช้างป่าทำลาย พระเจ้าตนหลวงได้พังทลายลง คงเหลือพระพักตร์และพระวรกายบางส่วน

       กาลเวลาล่วงเลยมาจนถึง พ.ศ.2465 ครูบายาสมุทร วัดเหล่ายาว คิดบูรณะก่อสร้างขึ้น แต่ก็ได้มรณภาพลงเสียก่อน จึงเป็นอันล้มเลิกไป

           พ.ศ.2467 คณะศรัทธาประชาชนได้อาราธนาพระครูบาศรีวิชัยมาเป็นประธานคิดบูรณะก่อสร้าง แต่ก็ต้องชะงักไปอีก เมื่อเจ้าคณะอำเภอปากบ่อง (ป่าซาง) ขอให้หยุดการก่อสร้าง                                                              
 พ.ศ.2503 พระครูอินทรัตนคุณ เจ้าอาวาสวัดหล่ายแก้ว มอบให้พระดวงดี พรหมโชโต พร้อมด้วยศรัทธาไปขุดหงายพระพักตร์ เพื่อทำการซ่อมโบกปูน ภายในพระเศียร แล้วทำการอันเชิญย้ายจากที่เดิมไปไว้ทางทิศใต้ฐานพระ แล้วทำการก่อสร้างวิหารชั่วคราว เพื่อรอเวลาชักขึ้นสู่แท่นบูรณะ

 พ.ศ.2506 ตรงกับเดือนสิบเหนือ แรม 11 ค่ำ ก็ได้ทำพิธีบรรจุดวงหฤทัย ซึ่งมีพระสงฆ์ และ ประชาชนมาร่วมพิธีกันอย่างคับคั่ง


                                                  

พระอุโบสถกลางน้ำ
   พระอุโบสถหลังใหม่ของวัดศรีโคมคำ ตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา เป็นศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ สร้างขึ้นโดยศรัทธาประชาชน ซึ่งบริษัท มติชนจำกัด ดดยคุณขรรค์ชัย บุนปาน เป็นผู้ประสานงาน คุณนิยม สิทธหาญ มัณฑนากรจากมหาวิทยาลัยศิลปกร และคุณจินดา สหสมร สถาปนิกจากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยร่วมกันออกแบบ
   จิตรกรรมฝาผนัง เขียนโดยคุณอังคาร กัลยาณพงษ์ และคุณภาพตะวัน สุวรรณกูฏ และทีมงาน




 พระพุทธรูปในอุโบสถกลางน้ำวัดศรีโคมคำ
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังฝีมือศิลปินแห่งชาติ ลวดลายวิจิตรสวยงาม วาดโดย อาจารย์อังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ
                                                                     
 




   พระพุทธรูปหน้าอุโบสถวัดศรีโคมคำ
เป็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานไว้ให้ประชาชนได้สักการะบูชาจุดเทียนธูปกันที่นี่ สำหรับวัดศรีโคมคำเมื่อเปลี่ยนดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระแล้ว จะมีเทียนแบบพิเศษอีก 3 เล่ม แต่ละเล่มเขียนไว้ว่า สืบชะตา สะเดาะเคราะห์ รับโชคลาภ เป็นเทียนเล่มใหญ่ ซึ่งมักจะมีนักท่องเที่ยวนำมาจุดตั้งไว้ที่เชิงเทียน



จุดเทียนสะเดาะที่ประชาชนนำมาจุดตามความเชื่อที่เชิงเทียนหน้าอุโบสถวัดศรีโคมคำ

วัดติโลกอารามกลางกว้านพะเยา



วัดติโลกอาราม เป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งที่จมอยู่ในกว๊านพะเยา เป็นวัดที่พระเจ้าติโลกราช แห่งราชอาณาจักรล้านนา โปรดให้พระยายุทธิษถิระ เจ้าเมืองพะเยา สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2019-2029 ในบริเวณที่เรียกว่า บวกสี่แจ่ง
วัดแห่งนี้เป็นชื่อวัดที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึก ซึ่งถูกค้นพบได้ในวัดร้างกลางกว๊านพะเยาหรือในบริเวณหนองเต่า จากข้อความที่ปรากฏในศิลาจารึก ทำให้รู้ว่าวัดนี้มีอายุเก่าแก่มากกว่า 500 ปี สร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ วัดนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะเป็นวัดที่มีผู้ปกครองเมืองพะเยาได้สร้างถวาย เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแก่พระเจ้าติโลกราช ในฐานะทรงเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรล้านนา
วัดติโลกอารามจมอยู่ในกว๊านพะเยาเนื่องจากในปี พ.ศ. 2482 กรมประมงสร้างประตูกั้นน้ำในกว๊านพะเยาเพื่อกักเก็บน้ำ จึงทำให้บริเวณกว๊านพะเยาที่แต่เดิมเป็นชุมชนโบราณ และมีวัดอยู่เป็นจำนวนมากต้องจมน้ำ

                                                                                                                                                                                                                                                                                         ในอดีตพื้นที่กว๊านพะเยาเป็นพื้นที่รองรับน้ำจากเทือกเขาไหลลงมาเป็น ลำห้วย ลำธาร แม่น้ำ และกลายเป็นหนองน้ำเล็กใหญ่ในช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน ของทุกปี ปริมาณน้ำจะลดลงทำให้ชาวบ้านสามารถใช้พื้นที่เกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์และเป็นเส้นทางสัญจรไปมาระหว่างตัวเมืองกับหมู่บ้านรอบๆ กว๊านพะเยาและเมื่อหลายร้อยปีมานั้นพื้นที่ในบริเวณของกว๊านพะเยาจะเป็นชุมชนหมู่บ้านมีวัดวาอารามอยู่หลายวัดและวัดติโลกอารามเป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งที่จมอยู่ในกว๊านพะเยา













เทศกาลเวียนเทียน จ.พะเยา เขาลอยเรือเวียนเทียน กันกลางน้ำ หนึ่งปีมีเพียง 3 หนเท่านั้น คือ วันมาฆะบูชา วิสาขบูชา และอาสาฬหบูชา
     เทศกาลเวียนเทียนทั่วทั้งเมืองไทย ใครต่างก็เดินเวียนเทียน กันรอบพระอุโบสถ ไม่ก็เวียนรอบพระธาตุเจดีย์หรือองค์ พระพุทธรูปสำคัญ กลางกว๊านพะเยา จ.พะเยา ที่นี่มีวัดร้างโบราณพบไม่นานมานี้คือวัดติโลกอาราม ถึงวันเทศกาลเวียนเทียน ผู้คนเมืองนี้เขาเวียนเทียนไม่เหมือนที่ใดในโลก โดยเมื่อดวงอาทิตย์ใกล้ลับขอบฟ้า เขาจะนำดอกไม้ธูปเทียนบูชา จุดไฟสว่างไสว ล่องเรือไปเวียนเทียนบูชาองค์พระปฏิมากลางน้ำ 3 รอบมีอยู่แห่งเดียวในโลก                                                                                                                                                                                                                            


บรรยกาศความงดงามของกว้านพะเยา

กว้านพะเยา




กว๊านพะเยา อยู่ในเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในภาคเหนือ และ อันดับ 3 ของประเทศไทย (รองจาก หนองหาน และ บึงบอระเพ็ด) [1] คำว่า "กว๊าน" ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง "บึง" เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่ใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเป็นฉากหลัง เกิดจากน้ำที่ไหลมาจากห้วยต่างๆ 18 สาย มีปริมาณน้ำเฉลี่ยปีละ 29.40 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพันธ์ปลาน้ำจืดกว่า 48 ชนิด มีเนื้อที่ 12,831 ไร่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาต่างๆ ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยา มีส่วน ทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ที่สวยงามประทับใจผู้พบเห็น จนอาจจะกล่าวได้ว่าหัวใจของเมืองพะเยาอยู่ที่กว๊านพะเยานี่เอง
      ริมกว๊านพะเยาเป็นร้านอาหารและสวนสาธารณะให้ประชาชนพักผ่อนหย่อนใจ กว๊านพะเยาในอดีตแต่เดิมเคยเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมีสายน้ำอิงไหลพาดผ่านคดเคี้ยวทอดเป็นแนวยาวไปตลอด จากทิศเหนือจรดขอบกว๊านฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประกอบกับมีหนองน้ำน้อยใหญ่หลายแห่งและร่องน้ำหลายสายที่ไหลลงมาจากขุนเขาดอยหลวงแล้วเชื่อมติดต่อถึงกัน ทำให้พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำแห่งนี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งนักและมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่เป็นชุมชนนานนับตั้งแต่โบราณ

ข้อมูลท่องเที่ยว

• จังหวัดพะเยา เป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งในแถบลานนาไทย เดิมมีชื่อว่า ภูกามยาว หรือ พยาว มีอายุกว่า 900 ปี โดยพ่อขุนศรีจอมธรรม กษัตริย์แห่งราชวงศ์ลัวะจักรราชหิรัญนครเงินยาง เมืองเชียงแสน และเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยพ่อขุนงำเมือง ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตามอิทธิพลของอาณาจักรต่างๆ ที่ผลัดกันมีอำนาจในแถบนี้ จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พยาวเปลี่ยนชื่อเป็นพะเยา และรวมอยู่กับจังหวัดเชียงรายจนในปี พ.ศ. 2520 จึงได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา
• พะเยามีเนื้อที่ประมาณ 6,335 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ กิ่งอำเภอภูซาง กิ่งอำเภอกามยาว
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดอำเภอพาน อำเภอป่าแดด และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันออก ติดแขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และอำเภอท่าวังผา อำเภอบ้านหลวง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
ทิศใต้ ติดอำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอสอง จังหวัดแพร่
ทิศตะวันตก ติดอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
การเดินทาง
รถยนต์ สามารถเดินทางเป็นวงรอบได้โดยใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง-พะเยา รวมระยะทางประมาณ 782 กิโลเมตร ตอนกลับใช้เส้นทางพะเยา-เชียงราย-แม่สรวย-เวียงป่าเป้า-ดอยสะเก็ด-เชียงใหม่—ลำปาง-ตาก-กรุงเทพฯ ระยะทาง 966 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 ชั่วโมง
รถโดยสารประจำทาง ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือถนนกำแพงเพชร 2 มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดาและปรับอากาศวันละหลายเที่ยว สอบถามได้ที่ โทร. 537-8055, 936-2852 บริษัทขนส่ง จำกัด พะเยา โทร. (054) 431363 สยามเฟิร์สทัวร์ โทร. 954-3601, (054) 431865 สมบัติทัวร์ โทร. 936-2495-9 , (054) 246503
จากเชียงใหม่มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดา และปรับอากาศไป-กลับพะเยาทุกวัน ตั้งแต่ 06.00-17.30 น. รถออกทุกๆครึ่งชั่วโมง สอบถามได้ที่บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด โทร.(053) 246503
รถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปลงที่ลำปาง หรือเชียงใหม่ แล้วต่อรถโดยสารไปพะเยา สอบถามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 223-7010, 223-7020
เครื่องบิน มีเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ ไปเชียงรายทุกวัน สอบถามได้ที่ 1566 จองตั๋ว 280-0060, 628-2000

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอจุน 48 กิโลเมตร
อำเภอเชียงคำ 76 กิโลเมตร
อำเภอเชียงม่วน 117 กิโลเมตร
อำเภอดอกคำใต้ 15 กิโลเมตร
อำเภอปง 79 กิโลเมตร
อำเภอแม่ใจ 24 กิโลเมตร